วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ขอนแก่น แอร์บ้านราคาถูก ติดตั้งฟรีพร้อมฟรีอุปกรณ์ครบชุด ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ แอร์ถูกสุด ๆ .

การเลือกเครื่องปรับอากาศ articleการ เลือกขนาดเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับห้องที่จะติดตั้งควรรู้ขนาดห้องเสีย ก่อน เพื่อให้ได้ความเย็นที่เหมาะสม กรณีซื้อ เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่เกินไป การทำความเย็นจะมากเกินไป การควบคุมความชื้นไม่ดี (เนื่องจากเครื่องต้องเดิน-หยุดบ่อย) ราคาเครื่อง และค่าติดตั้งก็จะสูงตามไปด้วย ถ้าซื้อเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กเกินไป การทำความเย็นก็ไม่เพียงพอ และเครื่องก็ต้องทำงานตลอดเวลา อายุการใช้งานก็จะสั้น ดังนั้นจึงควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มี
ความสามารถในการทำความเย็นให้เหมาะสมกับพื้นที่ห้อง เพื่อให้สะดวกและรวดเร็ว สามารถหาขนาดของเครื่องปรับอากาศได้จากตาราง
 

ขนาดของห้อง (ตารางเมตร)
ขนาดเครื่อง
(บีทียู)
ห้องนอนห้องนอน
โดนแดด
ห้องรับแขก
ห้องนั่งเล่น
ห้องรับแขก
ห้องนั่งเล่นโดนแดด
ห้องทำงานห้องทำงาน
โดนแดด
12,000
15,300
18,000
20,800
22,800
27,200
32,800
38,000
53,000
64,400
16-22
20-28
24-33
28-38
30-42
36-50
44-60
51-70
71-97
86-118
14-20
18-26
21-30
24-35
27-38
32-45
38-55
44-63
62-88
75-107
16-20
20-26
24-30
28-35
30-38
36-45
44-55
51-63
71-88
86-107
14-18
18-23
21-27
24-31
27-34
32-41
38-49
44-57
62-80
75-97
14-18
18-23
21-27
24-31
27-34
32-41
38-49
44-57
62-80
75-97
12-16
15-20
18-24
21-28
23-30
27-36
33-44
38-51
53-71
64-86
 
 

การเลือกเครื่องปรับอากาศ            

 

ควรเลือกเครื่องปรับอากาศให้เหมาะกับขนาดของห้อง โดยทั่วไปสำหรับห้องขนาดพื้นที่ 16 ตารางเมตร ฝ้าเพดานสูงประมาณไม่เกิน 2.50 เมตร ควรเลือกเครื่องปรับอากาศประมาณ 1 ตัน - 1 ตันกว่าๆ หรือ 12,000 B.T.U. - 16,000 B.T.U. แต่ถ้าหากห้องนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกและปราศจากชายคาปกคลุมซึ่งจะได้รับ แสงแดดโดยตรงในช่วงบ่าย ก็อาจจำเป็นต้องเพิ่มขนาดของเครื่องปรับอากาศเพื่อสู้กับความร้อน โดยอาจต้องเลือกใช้เครื่องขนาดประมาณ 18,000 B.T.U. - 20,000 B.T.U. ซึ่งกินไฟประมาณ 5,500-5,900 วัตต์

ขนาดเครื่องปรับอากาศ จะเริ่มตั้งแต่ 9,000 B.T.U. 12,000 B.T.U. 18,000 B.T.U. 24,000 B.T.U. 30,000 B.T.U.

ตารางเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันทั่วไป สำหรับห้องที่ฝ้าเพดานสูงไม่เกิน 2.50 เมตร


ขนาดพื้นที่ห้อง (ตร.ม.)ขนาดเครื่องปรับอากาศ
1612,000  B.T.U.
2016,000  B.T.U.
2518,000- 20,000  B.T.U.
3020,000- 24,000  B.T.U.
4030,000  B.T.U.

และที่สำคัญ ควรเลือกซื้อ เครื่องปรับอากาศที่มีป้ายฉลากเขียว ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงอุตสาหกรรม และเลือกรุ่นที่ระบุว่าเป็น รุ่นประหยัดไฟฟ้า (เบอร์ 5) 


 
การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

วิธีดูแลด้วยตัวเอง

 

   ควรตั้งค่าอุณหภูมิภายในห้องให้เหมาะกับความสบาย ของผู้อยู่อาศัย ซึ่งโดยทั่วไป จะอยู่ที่ค่าประมาณ 25-26 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานการประหยัดไฟฟ้า (เครื่องปรับอากาศบางยี่ห้อจะเขียนไว้ว่า economy 25o C)

  ส่วนคอนเดนซิ่ง หรือชุดระบายความร้อนของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะติดตั้งอยู่ภายนอกบ้าน ควรวางอยู่ในบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดดปะทะโดยตรงและไม่ชื้น เพราะความร้อนจะทำให้เครื่องทำงานหนักขึ้น และความชื้นจะทำให้อุปกรณ์ภายในเครื่องผุเร็ว ไม่ควรติดตั้งชุดระบายความร้อนใกล้ผนังเกินไป เพราะเครื่องจะกินไฟมากขึ้นร้อยละ 15-20 ระยะที่เหมาะสมควรให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เพื่อการระบายความร้อนได้ดี ไม่ควรนำสิ่งของไปวางขวางทางลมเข้า-ออกของชุดระบายความร้อน เพราะจะทำให้เครื่องระบายความร้อนได้ไม่ดี ทำงานหนัก และสิ้นเปลืองไฟ

   เครื่องปรับอากาศชนิดตั้งพื้น มีช่องลมดูดกลับอยู่ส่วนล่างของเครื่อง ต้องระวังอย่าตั้งสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์บังช่องลมดูดกลับนี้ เพราะจะทำให้อากาศถูกดึงกลับออกไป ทำให้ห้องเย็นช้าลงและเครื่องทำงานหนักขึ้น

  หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ หรือฟิลเตอร์อย่างสม่ำเสมอสอย่าให้มีฝุ่นเกาะ จะช่วยประหยัดไฟได้ร้อยละ 5 - 7 ควรทำความสะอาดฟิลเตอร์อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยท่านสามารถทำได้ด้วยตนเอง เพียงเปิดฝาครอบของเครื่องปรับอากาศที่อยู่ในบ้าน แล้วนำฟิลเตอร์ซึ่งอยู่ที่ส่วนเป่าลมเย็นออกมาล้างน้ำ ปล่อยให้แห้ง และใส่กลับที่เดิม ในช่วงฤดูร้อนซึ่งเครื่องต้องทำงานหนัก เราอาจเตรียมหาแผ่นฟิลเตอร์สำรองไว้เปลี่ยนเพื่อให้เครื่องทำความเย็นได้ เต็มที่


 
การดูแลโดยช่างซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ 

ควรให้ช่างแอร์มาดูแลตรวจสภาพเครื่องปรับอากาศทุก 4 - 6 เดือน/ครั้ง ซึ่งจะมีการให้บริการดูแลทั่วไปดังนี้

 
1.  ล้างแผ่นกรองฟิลเตอร์ ตรวจสอบการระบายน้ำออกจากตัวเครื่องเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนหยดอยู่ภายในห้อง

 
2.  ทำความสะอาดส่วนคอน เดนซิ่งหรือชุดระบายความร้อนที่อยู่นอกบ้าน ซึ่งมีโอกาสถูกฝุ่นละอองตลอดเวลา ถ้าไม่ได้ทำการล้างบ่อยๆ จะมีฝุ่นเกาะมากที่ช่องระบายอากาศ ทำให้การระบายความร้อนไม่มีประสิทธิภาพ และทำให้เครื่องทำงานหนักขึ้น

 
3.  ตรวจสอบน้ำยาทำความเย็นให้อยู่ในระดับมาตรฐาน



 
 ธีใช้เครื่องปรับอากาศเพื่อประหยัดไฟฟ้าและยืดอายุการใช้งาน 

 

  



ในห้องที่มีการปรับอากาศ ไม่ควรตั้งตู้เย็น หรือมีการหุงต้มหรือรีดผ้าที่ทำให้เกิดความร้อนในห้องนั้น

สำหรับห้องที่มีการ ปรับอากาศ หากไม่มีการใช้งานนานกว่า 1 ชั่วโมง ควรปิดเครื่องเพื่อประหยัดไฟฟ้า เพราะเมื่อเปิดเครื่องทิ้งไว้ ส่วนคอนเดนซิ่งจะทำงานอยู่ตลอดเวลาเพื่อรักษาอุณหภูมิของห้องให้คงที่ตามที่ ตั้งไว้ ส่วนนี้เป็นส่วนที่ใช้กำลังไฟฟ้ามาก ดังนั้น เมื่อมิได้อยู่ในห้องเกินกว่า 1 ชั่วโมงก็ควรปิดเครื่องปรับอากาศ เพราะห้องที่ปรับอากาศเอาไว้แล้วทั่วไปยังคงรักษาความเย็นไว้ได้ประมาณครึ่ง ชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง การปิดเครื่องจึงช่วยประหยัดไฟฟ้าได้

ไม่ควรปลูกต้นไม้หรือตากผ้าในห้องที่มีการปรับอากาศ เพราะไปเพิ่มความชื้นภายในห้องซึ่งทำให้เครื่องทำงานหนักขึ้น

ควรปิดม่าน-มู่ลี่ บังแดดที่หน้าต่างก่อนออกจากห้อง เพื่อป้องกันแสงแดดและความร้อนเข้ามาสะสมภายในห้อง ซึ่งทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น

ควรสร้างสภาพแวดล้อม รอบตัวบ้านให้ร่มเย็นด้วยการปลูกต้นไม้สร้างร่มเงาให้กับพื้นคอนกรีตรอบบ้าน เพื่อให้อุณหภูมิแวดล้อมเย็นลง ช่วยให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนักมากและช่วยลดการใช้ไฟฟ้าลงได้

การปรับแก้ไขขนาด ห้องเพื่อประหยัดไฟฟ้าในการปรับอากาศ เมื่อมีความต้องการในการปรับพื้นที่ใช้สอยในห้องเพื่อติดเครื่องปรับอากาศ ซึ่งอาจจะจัดเป็นส่วนทำงานขึ้นในส่วนห้องนั่งเล่นที่มีเพดานสูงและมีพื้นที่ มากเกินความจำเป็นในการจัดเป็นมุมทำงาน เราก็ควรจัดกั้นแบ่งห้องให้มีขนาดพอดีกับส่วนทำงาน เมื่อติดตั้งเครื่องปรับอากาศจะได้มีขนาดเล็กพอเหมาะกับส่วนทำงานที่จัดขึ้น ใหม่นั้น การกั้นแบ่งสามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น กั้นเป็นฝายึดติดถาวร หรือใช้เป็นฉากปรับเลื่อนที่สามารถเปิดออกเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับส่วนนั่ง เล่นได้ ทั้งนี้ขึ้นกับความต้องการของผู้ใช้สอย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น